เลือกตั้ง 2566 – "พิธา" นำทีมหารือสภาหอการค้าปัดเป็น ครม.เงา
วันนี้ 31 พ.ค. 2566 นายพิธาลิ้มเจริญรัตน์หัวหน้าพรรคก้าวไกลพร้อมด้วยน.ส.ศิริกัญญา ตันสกุล รองหัวหน้าพรรคฯ และคณะทำงานด้านเศรษฐกิจพรรคก้าวไกล เข้าหารือกับสภาหอการค้าแห่งประเทศไทยตามที่นายสนั่น อังอุบลกุล ประธานสภาหอการค้าไทยส่งเทียบเชิญเพื่อแสดงความยินดี และขอทราบข้อมูลและแผนการทำงานของรัฐบาลภายหลังการจัดตั้งรัฐบาลเสร็จสิ้น
นายสนั่นเชื่อว่าไม่มีอะไรให้กังวลกับการตั้งรัฐบาลพรรคก้าวไกลเพราะเชื่อว่าจะเป็นไปตามเสียงของประชาชน แต่สนใจคือ พรรคก้าวไกลมีแนวทางการทำงานร่วมกับภาคเอกชนอย่างไร
เลือกตั้ง 2566 : “พิธา”หวังจับมือเพื่อไทย มั่นใจปิดทางรัฐบาลเสียงข้างน้อย
เลือกตั้ง 2566 : ชำแหละคดี"พิธา" ขวากหนามไปไม่ถึงฝันนายกฯ
นายพิธา ระบุว่าการมาของคณะทำงานฯ เพื่อให้การทำงานเดินหน้า เนื่องจากมีนโยบายหลายอย่างที่รอการตัดสิน ความเดือดร้อนของประชาชนรอไม่ได้ จึงต้องเข้ามารับฟังข้อมูล เพื่อให้สามารถเดินต่อได้ทันทีเมื่อจัดตั้งรัฐบาลได้สำเร็จ
ส่วนที่มองว่า คณะกรรมการชุดนี้เป็นเหมือน ครม.เงา หรือไม่ นายพิธา กล่าวว่า ไม่ได้วางใครในคณะกรรมการฯเป็นรัฐมนตรีประจำกระทรวงไหน ชื่อคณะกรรมการฯ ชัดเจนอยู่แล้วตั้งมาเพื่อเป็นคณะกรรมการประสานงานช่วงเปลี่ยนผ่านรัฐบาล ไม่ใช่เป็น คณะรัฐมนตรี ซึ่งกรอบระยะเวลาการจัดตั้งรัฐบาล จะสามารถจัดตั้งได้เมื่อไหร่ขึ้นอยู่กับ กกต.
แม้นายพิธา จะปฏิเสธเรื่องการวางตัว ครม. แต่ชื่อของ น.ส.ศิริกัญญา ตันสกุล รองหัวหน้าพรรคก้าวไกล ปรากฎเป็นตัวเต็ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
วันนี้ ผู้สื่อข่าวสอบถามถึงกรณีที่ นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ประธานคณะก้าวหน้า ออกมาสนับสนุน เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง น.ส.ศิริกัญญา ขอบคุณทุกคนที่มองเห็นว่าตนเหมาะสม และบอกว่านอกจากนายธนาธรแล้ว ยังมีคนอื่นในพรรคสนับสนุนด้วยเช่นกัน
พร้อมกันนี้ น.ส.ศิริกัญญายังย้ำถึงหน้าที่ของคณะกรรมการประสานงานเปลี่ยนผ่านรัฐบาลว่า เป็นโอกาสดีที่จะได้พูดคุยและตกผลึกระหว่างกัน ก่อนที่จะนำไปสู่การแถลงต่อรัฐสภา รวมไปถึงการเตรียมความพร้อมการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในนัดแรกๆ ซึ่งจะต้องมีการตัดสินใจเร่งด่วนคำพูดจาก สล็อต777 เว็บตรง
การมาพบสภาหอการค้าแห่งประเทศไทยของคณะเศรษฐกิจพรรคก้าวไกลในวันนี้ ซึ่งนายพิธา ยินยันว่าเป็นไปตาม MOU ที่ประกาศไว้ แต่ก็มีเสียงวิจารณ์ว่าเป็นการแทรกแซงการทำงานบางส่วนของข้าราชการที่ยังมีคณะรัฐมนตรีของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ทำหน้าที่อยู่หรือไม่ หลายคนมองว่าคณะพรรคร่วมรีบเกินไปไหมในเรื่องนี้
เรื่องนี้มีมุมมองจาก นายวิษณุเครืองาม รองนายกรัฐมนตรี วันนี้เข้ามาทำงานที่ทำเนียบรัฐบาล มองว่า การที่คณะกรรมการฯชุดนี้ จะขอความร่วมมือจากข้าราชการประจำไปชี้แจง หรือขอข้อมูลความเห็นโดยสันถวไมตรีอันดีงามก็ทำได้
พร้อมยกตัวอย่างว่าในอดีตก็เคยมีการเคยทำแบบนี้ในสมัย "ไทยรักไทย"ว่าที่นายกฯเคยเรียกข้าราชการคุยแต่ว่าในตอนนั้นเสียงที่มี 300 กว่าเสียง ไม่ต้องอาศัยเสียง ส.ว.มาโหวต ซึ่งค่อนข้างชัดเจนว่าจะเป็นรัฐบาล ไม่มีการเปลี่ยนแปลง จึงอยากแนะนำคณะพรรคร่วมว่าทำได้ แต่ช่วยทำให้แนบเนียนหน่อย ทำอย่างเงียบๆไม่อึกทึกครึกโครม หรือแสดงให้เห็นว่าฉันจะเป็นรัฐบาลแน่ๆ แล้ว เพราะยังไม่ได้เป็น อันนี้ไม่สมคร
ผู้สื่อข่าวถามว่า หากเป็นแบบนี้ ถ้าข้าราชการให้ข้อมูลกับข้าราชการชุดนี้ ถือว่ามีความผิดหรือไม่ ประเด็นนี้นายวิษณุ กล่าวว่า ไม่ผิด แต่ข้อมูลที่เป็นความลับทางราชการนั้นไม่ได้ และจะลำบากใจ เพราะเขายังมีนายอยู่ยังมีผู้บังคับบัญชาอยู่ในปัจจุบัน