วิกฤตประชากรในเอเชียลดฮวบ อัตราการเกิดลดลง คนหนุ่มสาวจำใจแบกประเทศ
ปัญหาเศรษฐกิจ ค่าครองชีพสูง ค่าเทอมเเพง สังคมไม่น่าอยู่ ทั้งหมดคือปัญหาของชาติยักษ์ใหญ่ในเอเชีย ทั้งจีน ญี่ปุ่น เเละเกาหลีใต้ ที่เเม้รัฐบาลจะทุ่มงบประมาณกับมาตรการกระตุ้นยังไง จำนวนเด็กเกิดใหม่ก็ยังลดลงทุกปี จากรายงานสถิติประชากรประจำปี 2023 ของแต่ละประเทศปรากฎว่า จำนวนเด็กเกิดใหม่ที่ลดลงมากที่สุดเป็นประวัติการณ์ ขณะที่สัดส่วนคนรุ่นใหม่ที่ไม่ต้องการมีลูกเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
เริ่มจากเกาหลีใต้ประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 13 ของโลก ปีที่ผ่านมาจำนวนเด็กเกิดใหม่ก็ยังคงลดลงต่อเนื่องเป็นปีที่ 4 จำนวนเด็กเกิดใหม่อยู่ที่ 230,000 คน ลดลงจากปี 2022 เกือบ 8% ต่ำกว่าเป้าหมายของรัฐบาลมาก ที่อยากจะให้ผู้หญิงมีบุตร 2.1 คน เพื่อรักษาจำนวนประชากรซึ่งปัจจุบันมีอยู่ประมาณ 51 ล้านคน โดยอัตราการเจริญพันธุ์ หรือจำนวนบุตรที่ผู้หญิงคนหนึ่งคาดว่าจะมีในช่วงชีวิตลงลดเหลือ 0.72ตอนนี้เกาหลีใต้คือชาติที่มีอัตราการเกิดต่ำที่สุดในโลก เเละถ้ายังเป็นเเบบนี้ต่อไป หน่วยงานสถิติเเห่งชาติเกาหลีใต้คาดการณ์ว่าจำนวนประชากรในประเทศจะลดลงเหลือ 36 ล้านคนในปี 2072 จาก 51 ล้านคน
ส่วนเพื่อนบ้านอย่างญี่ปุ่นเจอปัญหาเดียวกันจำนวนเด็กเกิดใหม่ในญี่ปุ่นทำสถิติต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ 8 ปีต่อเนื่อง โดยจำนวนเด็กเกิดใหม่อยู่ที่ 758,631 คน ลดลงจากปี 2022 5.1% เเละเป็นปีที่ 2 ติดต่อกันที่ญี่ปุ่นมีเด็กเกิดใหม่ไม่ถึง 800,000 คนสถาบันวิจัยด้านประชากรศาสตร์และประกันสังคมแห่งชาติญี่ปุ่น ประเมินว่าจำนวนประชากรญี่ปุ่นจะลดลงต่ำกว่า 100 ล้านคน ในปี 2053 และจะลดลงต่อเนื่องเหลือ 87 ล้านคน ภายในปี 2070 จากปัจจุบันที่ 125.5 ล้านคน โดยสัดส่วนคนหนุ่มสาวจะลดฮวบ เเละทำให้คนอายุ 65 ปีขึ้นไปมากถึง 40 เปอร์เซ็นต์
ส่วนจีนตัวเลขประชากรปี 2023 มีอยู่กว่า 1,400 ล้านคน ฟังดูเป็นตัวเลขมหาศาล เเต่ถ้าไปดูจำนวนเด็กเกิดใหม่ พบว่ามีเพียง 9 ล้านคน หรือครึ่งเดียวของจำนวนเด็กเกิดใหม่เมื่อปี 2017 ถ้าหักลบกับจำนวนผู้เสียชีวิตประมาณ 11 ล้านคน นั่นทำให้จำนวนประชากรจีนหดลดถึง 2 ล้านคน หลังจากลดลงมาแล้ว 850,000 คนเมื่อปี 2022 เท่ากับว่าภายในระยะเวลา 2 ปี ประชากรจีนหายไปราวๆ 3 ล้านคนเเล้ว เเละประเมินว่าประชากรจะลดลงอีก 109 ล้านคนภายในปี 2025
เหตุผลที่ทำให้คนยุคนี้มีมุมมองต่อการมีลูกต่างออกไปก็คือสภาพสังคม เเละวิถีชีวิตที่เปลี่ยนเเปลงไปมาก โดยเฉพาะในยุคโควิด 19 การระบาดใหญ่ทำให้เกิดการล็อกดาวน์อย่างเข้มข้น เศรษฐกิจตกต่ำจนกระทบต่อรายได้ของผู้คนอย่างรุนเเรง ชาวจีนที่เผชิญกับการล็อคดาวน์นาน 3 ปีเต็มบอกว่า วิกฤติที่เกิดขึ้นเหมือนกับผลาญเวลาพวกเขาไปเป็นสิบปี เงินที่เก็บหอมรอมริบหมดเกลี้ยง อาชีพการงานก็ยังไม่เเน่นอน ผ่านมาถึงตอนนี้ก็ยังไม่ฟื้น ลำพังเลี้ยงดูตัวเองก็ยากลำบากเเล้ว เเละถ้ามีลูกจะเลี้ยงได้อย่างไร จนแฮชแท็ก #Is it really important to have offspring?" หรือ #การมีลูกสำคัญจริงหรือ? กลายเป็นไวรัลเมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา
ขณะที่ผู้หญิงจำนวนไม่น้อยหันมาให้ความสำคัญกับอาชีพการงานเเละการรักษาอาชีพของพวกเธอ เมื่อผู้หญิงต้องทำงาน นั่นหมายความว่าเธอต้องรับภาระถึงสองทาง ทั้งการทำงานบ้าน ดูเเลลูก เเละหน้าที่การงาน เพราะไม่ใช่ทุกครอบครัวที่ปู่ยาตายายจะช่วยเลี้ยงลูกได้ เเละคิดว่าการมีลูกจะทำให้คุณภาพชีวิตของพวกเขาตกต่ำลงอย่างมาก
ทั้งหมดนี้คือความท้าทายด้านประชากรศาสตร์ของรัฐบาลที่มองว่าเป็นเรื่องคอขาดบาดตาย เพราะส่งผลกระทบถึงเเนวโน้วการเติบโตของเศรษฐกิจในประเทศ เนื่องจากประชากรลดลงหมายถึงจำนวนเเรงงาน หรือคนทำงานในทุกอุตสาหกรรมลดลง จำนวนผู้บริโภคก็ลดน้อยตามไปด้วย เเต่อีกด้านหนึ่งผู้คนมีอายุยืนยาวขึ้น นั่นหมายความว่าคนกลุ่มนี้ ซึ่งต้องการการดูเเลจะกลายมาเป็นกลุ่มประชากรหลัก ดังนั้นต้นทุนในการดูเเลผู้สูงอายุเเละสวัสดิการสำหรับผู้สูงอายุก็จะเป็นกราฟขาขึ้นไปเรื่อยๆ ทำให้ในอนาคตสัดส่วนการพึ่งพิงของผู้สูงอายุ ต่อคนหนุ่มสาวจะเพิ่มมากขึ้นพูดง่ายๆก็คือ คนวัยทำงาน ซึ่งมีสัดส่วนน้อยจะต้องเป็นตัวแบกประเทศ และต้องออกแรงอย่างสาหัสในการดูแลผู้สูงอายุ
ราคาทองวันนี้ (22 มี.ค.2567) ย่อตัวตามต่างประเทศ "ลง 100 บาท" คำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
รู้จัก “จันทรุปราคา” รับปรากฏการณ์ “ราหูอมจันทร์” ครั้งแรกของปี 2567
ซน ฮึง-มิน ลั่นจะเล่นทีมชาติต่อเพื่อแฟนบอลเกาหลีใต้ คำพูดจาก สล็อตเว็บตรง