รู้จัก “ไทกอน-ไลเกอร์” กับกฎหมายคุ้มครองสัตว์ลูกผสมของไทย
ทำแตกตื่นกลางดึก หลังชาวบ้านจังหวัดฉะเชิงเทราพบสัตว์ตัวน้อยคล้ายเสือโคร่งหลุดเข้ามาในพื้นที่ จนใครที่ได้พบเห็นต่างก็ต้องวิ่งหนีกันเป็นระยะๆ ระดมทั้งเจ้าหน้าที่กู้ภัย ตำรวจ และชาวบ้านขันอาสาต้องมาช่วยกันต้อนจนในที่สุดก็จับขึ้นรถได้สำเร็จ
แต่น่าทึ่งคือ เมื่อเจ้าหน้าที่ได้คุยกับเจ้าของ กลับพบว่าน้องไม่ใช่เสือโคร่งแต่เป็น “ไลเกอร์” สัตว์ผสมระหว่างสิงโตกับเสือโคร่ง
ดังนั้นแล้วไลเกอร์คืออะไร มีสัตว์ผสมอะไรอีกบ้างที่ควรรู้จัก และกฎหมายคุ้มครองสัตว์ลูกผสมของไทย มีข้อมูลอะไรที่น่ารู้บ้าง วันนี้ทีมข่าวพีพีทีวีจะมาไขคำตอบให้ทุกคนกัน!
ไลเกอร์คืออะไร
ไลเกอร์ (Liger) เกิดมาจากสิงโตตัวผู้และเสือโคร่งตัวเมีย
ไลเกอร์ มีลายมาจากแม่ ได้แผงขนหนา ๆ มาจากพ่อ และมีแนวโน้มจะเติบโตจนมีขนาดใหญ่เกิน โดยไลเกอร์ตัวเดียวอาจมีน้ำหนักได้มากพอ ๆ กับสิงโตและเสือโคร่งรวมกัน
สำหรับสถิติโลกของไลเกอร์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุด เป็นของไลเกอร์ที่มีชื่อว่า “เฮอคิวลีส” ซึ่งมีความยาว 3.6 เมตร และหนักถึง 408 กิโลกรัม
อย่างไรก็ตามแมวขนาดมหึมานี้ดูน่าอัศจรรย์ แต่ขนาดใหญ่โตของมันก็มาพร้อมกับปัญหาสุขภาพ และมักจะอายุสั้นด้วยคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
ไทกอน เจ้าป่าลูกผสมที่น่ารู้จักอีกตัว
ไทกอน (Tigon) เกิดมาจากเสือโคร่งตัวผู้และสิงโตตัวเมีย ไทกอน มีลาย และเพศผู้มีแผงขนสั้น ๆ โดยปกติไทกอนมีขนาดพอ ๆ กับพ่อหรือแม่ การผสมลักษณะนี้พบไม่บ่อยเท่าไลเกอร์ ซึ่งอาจเป็นเพราะมันไม่สามารถเจริญได้จนเต็มวัย และโชคร้ายที่ไทกอนมีปัญหาสุขภาพเช่นเดียวกับที่พบในไลเกอร์
ไลเกอร์และไทกอน ที่มีในโลกส่วนมากนั้น เกิดขึ้นจากการผสมเทียมคนเราทั้งสิ้น เพราะปกติแล้ว เสือและสิงโต นั้นมีพฤติกรรมไม่เหมือนกัน และยังอยู่อาศัยกันคนละถิ่นคนละภูมิประเทศ
ยังไม่มีกฎหมายไทยคุ้มครองสัตว์ลูกผสมคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง
ในประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายคุ้มครองสัตว์ลูกผสมอย่างไลเกอร์และไทกอนโดยเฉพาะ เพราะไม่ได้เป็นทั้งสิงโต และเสือโคร่ง ที่สำคัญยังเกิดขึ้นจากการผสมพันธุ์ของมนุษย์ ไม่ได้เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ
อย่างไรก็ตามอาจได้รับความคุ้มครองทางอ้อมจากกฎหมายอื่น เช่น พระราชบัญญัติป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ.2557 ที่คุ้มครองสัตว์จากการเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสมหรือถูกกระทำทุกข์ทรมานได้
หรือ พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2562 ที่ระบุไม่ให้สัตว์ป่านั้นพ้นจากการดูแลของตน และการมีไว้ครอบครองต้องแจ้งเจ้าหน้าที่
โดยระบุ อยู่ในมาตรา 15 ว่าด้วย การห้ามไม่ให้ผู้ใดทิ้งหรือปล่อยเป็นอิสระซึ่งสัตว์ป่าสงวน สัตว์ป่าคุ้มครอง หรือสัตว์ป่าควบคุม หรือกระทำการใดๆ ให้สัตว์ป่านั้นพ้นการดูแลของตน
และมาตรา 19 ว่าด้วย การมีครอบครองซึ่งสัตว์ป่าควบคุม ให้แจ้งการครอบครองต่อเจ้าหน้าที่
ขอบคุณข้อมูลจาก : ประชาสัมพันธ์ กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่า และพันธุ์พืช, พระราชบัญญัติป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ.2557 และ พระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2562
โปรแกรมวอลเลย์บอลหญิงไทย ศึกเนชันส์ ลีก 2024 คืนวันศุกร์ที่ 17 พ.ค. 67
สรุปผลวอลเลย์บอลหญิงเนชันส์ลีก 2024 หรือ VNL 2024 วันที่ 16-17 พ.ค. 67
6 ผักป้องกันไขมันพอกตับ กำจัดสารพิษ สรรพคุณช่วยป้องกันมะเร็งตับได้